การซื้อขายรถมือสองมีขั้นตอนในการทำเอกสารมากมายและมีรูปแบบการจัดการหลายอย่าง และนั่นเองจึงเป็นที่มาของคำถามมากมาย หนึ่งในนั้นคือการโอนรถข้ามจังหวัดที่เจ้าของรถทั่วไป หรือผู้ซื้อรถหลายรายไม่รู้มาก่อน มีวิธีการทำที่รวดเร็ว ง่ายดาย และทำได้ในทุกหนทุกแห่ง Mrkumka ชวนคุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว เพื่อให้คุณสามารถเตรียมตัวได้อย่างเรียบร้อย และดำเนินเรื่องทุกอย่างได้อย่างราบรื่น
เพื่อให้คุณเข้าใจขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ควรมาทำความเข้าใจกันซักนิดว่าอะไรคือความหมายของ โอนรถข้ามจังหวัด มีความสำคัญอย่างไรและช่วยเหลือเจ้าของรถอย่างไร สำหรับการโอนย้ายรถข้ามจังหวัดนั้นมีจุดประสงค์เพื่อการให้ความช่วยเหลือในการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ในกรณีที่เจ้าของรถที่มีกรรมสิทธิ์ในตัวรถอย่างสมบูรณ์ต้องการโอนรถไปให้กับเจ้าของใหม่ หรืออาจเป็นลูกหลาน หรือญาติสนิท แต่ติดขัดตรงที่เจ้าของรถไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกันกับผู้รับโอน ทำให้เป็นปัญหาที่ต้องเดินทางมายังพื้นที่ที่รถและผู้รับโอนสิทธิ์อยู่ ดังนั้นการมีระบบโอนข้ามจังหวัดจึงถือว่าเป็นตัวช่วยชั้นดีที่ลดทอนขั้นตอนในการดำเนินเอกสารต่าง ๆ ลงไปได้มากทีเดียว
ไม่ว่าคุณต้องการโอนรถสำหรับจุดประสงค์อันใดก็ตาม มีขั้นตอนต่าง ๆ ที่คุณสามารถทำได้โดยง่าย ขั้นตอนต่าง ๆ ในการดำเนินการดังต่อไปนี้
อาจดูเป็นเรื่องที่น่าจุกจิกกวนใจอยู่บ้าง แต่ถึงกระนั้นการเตรียมเอกสารทุกอย่างให้ครบถ้วนเรียบร้อย ย่อมทำให้การดำเนินเรื่องทุกอย่างเป็นไปด้วยความรวดเร็วไม่มีติดขัด โดยเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการโอนรถข้ามจังหวัดมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ในส่วนของค่าโอนรถข้ามจังหวัดนั้น มีค่าธรรมเนียมสำหรับการดำเนินการด้วยเช่นกัน หากผู้รับการโอนกรรมสิทธิ์เป็นผู้ดำเนินเรื่องเอง จะมีค่าธรรมเนียมในส่วนของการโอนรถดังต่อไปนี้
ทั้งหมดนี้หากทำผ่านตัวแทนที่รับดำเนินเรื่องการโอนรถอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการดำเนินการอีก 200 - 300 บาทอีกด้วย
เมื่อมีการแจ้งโอนกรรมสิทธิ์รถนั้น ทางกรมขนส่งทางบกจะทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรถทุกอย่าง โดยเฉพาะในส่วนของป้ายทะเบียน ดังนั้นในการโอนกรรมสิทธิ์จะต้องแจ้งจุดเริ่มต้นการโอนรถและพื้นที่จังหวัดที่ต้องการโอนรถไป พร้อมกับตรวจสภาพรถ เมื่อผ่านกระบวนการนี้แล้ว ทางกรมขนส่งทางบกจะทำการเก็บสมุดรถเอาไว้พร้อมกับป้ายทะเบียนอันเก่า เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงสิทธิ์และมอบป้ายทะเบียนอันในพื้นที่จังหวัดใหม่ที่ได้ทำการโอนไปแล้วนั่นเอง
อีกหนึ่งกรณีที่มักใช้การโอนข้ามจังหวัดในการจัดการดำเนินเรื่องคือ การโอนกรรมสิทธิ์รถให้กับบุตรหลาน ภรรยา หรือญาติมิตร ในกรณีที่เจ้าของรถเสียชีวิต สามารถทำได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากชุดโอนรถในรูปแบบปกติ นั่นคือ ต้องมีสำเนาใบมรณะบัตรเจ้าของรถ และคำสั่งศาลหรือพินัยกรรมพร้อมสำเนาแนบมาด้วย
ในกรณีการโอนรถในรูปแบบนี้ ผู้รับสิทธิ์การโอนไม่ใช่ผู้รับผลประโยชน์หลัก จะต้องมีหนังสือยินยอมการมอบจากผู้รับสิทธิ์ให้เป็นมรดกคนแรก โดยต้องมีสัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษีแนบมาด้วย พร้อมกันนั้นยังต้องเตรียมหนังสือมอบอำนาจ มาให้กับผู้รับสิทธิ์ด้วยอีกต่างหาก โดยส่วนในค่าธรรมเนียมนั้นยังคงใช้อัตราค่าธรรมเนียมในรูปแบบเดียวกันทั้งหมด
แม้ว่าการโอนข้ามจังหวัดคือการเปลี่ยนสิทธิ์ตัวแทนที่อาจทำกันภายในเครือญาติ แต่เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ หรือการตรวจสอบรถในภายหลัง ทางข้อบังคับของกรมขนส่งทางบกได้ระบุว่า ต้องทำเรื่องเสร็จภายในระยะเวลา 15 วัน หลังจากเริ่มต้นเดินเอกสารและทำการตรวจสภาพรถแล้ว หากไม่สามารถทำทุกอย่างให้เสร็จสิ้นได้ และนำรถไปใช้นอกเหนือจากช่วงเวลานี้จะมีค่าปรับ 2,000 บาทอีกด้วย
การโอนกรรมสิทธิ์รถข้ามจังหวัดไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก สามารถเตรียมเอกสารสำหรับการดำเนินการได้ด้วยตนเอง นอกเสียจากว่าการโอนครั้งนั้นเป็นการโอนเพื่อรับมรดกจากผู้เสียชีวิตไปแล้วจำเป็นต้องมีใบมรณบัตรแนบเป็นเอกสารแสดงหลักฐานอีกด้วย ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนต่าง ๆ ที่ Mrkumka ได้นำมาเรียบเรียงเอาไว้ให้คุณเพื่อให้การเดินเรื่องทุกอย่างสามารถทำได้อย่างไม่ติดขัด พร้อมโอนรับกรรมสิทธิ์ได้ในทันทีโดยที่เจ้าของรถและผู้รับรถไม่จำเป็นต้องมาทำเรื่องพร้อมกัน